Categories:

การออกแบบแม่พิมพ์ (molding) เพื่อผลิตชิ้นงานทางวิศวกรรมนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนการผลิตชิ้นงาน เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญและผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ลักษณะของชิ้นงานเป็นไปตามหลักวิศวกรรม และความต้องการของลูกค้า เพราะหากการออกแบบมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลเสียระยะยาวต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าได้

การเลือกวัสดุ (material) มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน?

การเลือกวัสดุถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การเลือกวัสดุที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นความจำเป็นต่อคุณสมบัติ และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าวัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแกร่ง (strength) durability ความทนทาน (flexibility) น้ำหนัก (weight) ความทนทานต่อความร้อน (resistance to heat) ความสามารถในการขึ้นรูป (ability to cast) คุณสมบัติการนำไฟฟ้า (electrical conductivity) เป็นต้น

ชนิดของวัสดุ (material) ที่ทางรวีพัฒน์สามารถขึ้นรูปได้

ทางรวีพัฒน์มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการขึ้นรูปซิงค์ อลูมิเนียม และพลาสติก ซึ่งถือเป็นวัสดุยอดนิยมและถูกนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ สินค้าในกลุ่มการแพทย์และเครื่องมือแพทย์

  • ซิงค์ (Zinc)
  • อลูมิเนียม (Aluminium)
  • พลาสติก (Plastic)

ทางรวีพัฒน์มีความสามารถในการขึ้นรูปพลาสติกทุกชนิด ทางลูกค้าสามารถเลือกสีได้ตามความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการผสมสี

ขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์กับทางรวีพัฒน์ฯ

  1. ลูกค้าส่งแบบ Drawing หรือ ชิ้นงานจริงมาให้ทางรวีพัฒน์เพื่อทำการประเมินราคา
  2. การประเมินราคาใช้เวลา 3-5 วัน
  3. หากลูกค้าพึงพอใจ เริ่มต้นทำสัญญาว่าจ้างการทำแม่พิมพ์ใช้เวลา 30-45 วัน โดยแม่พิมพ์จะเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้า
  4. กระบวนการผลิตและส่งมอบงาน
    • ในกรณีที่ว่าจ้างผลิตแม่พิมพ์และผลิตชิ้นงาน เมื่อแม่พิมพ์เสร็จสิ้น ทางรวีพัฒน์จะทำการทดลองผลิตสินค้าให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าอนุมัติ ทางรวีพัฒน์จะทำการผลิตสินค้าตามจำนวนทันที
    • ในกรณีที่ว่างจ้างเฉพาะการทำแม่พิมพ์ เมื่อแม่พิมพ์เสร็จสิ้น ทางรวีพัฒน์จะทำการทดลองผลิตตัวอย่างให้ลูกค้าดูเป็นจำนวน 10-20 ชิ้น และทำการส่งมอบแม่พิมพ์แก่ลูกค้า

“ทุกกระบวนการของทางรวีพัฒน์ถูกควบคุมด้วยวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญในวงการกว่า 40 ปี”

Tags:

Comments are closed

© 2022 Raweepat Engineering.